ตู้หยอดเหรียญเพื่อซื้อสินค้าที่เก่าแก่ที่สุดมีการบันทึกไว้ในยุคกรีก ได้รับการออกแบบโดยวิศวกรและนักคณิตศาสตร์ Hero of Alexandria ประมาณ 215 ปีก่อนคริสตกาล
เป็นเครื่องจ่ายน้ำมนต์หยอดเหรียญ โดยเหรียญที่ถูกหยอดจะตกลงบนแผ่นที่เชื่อมต่อกับคันโยก น้ำหนักของเหรียญจะทำให้คันโยกจะยกตัวขึ้นเพื่อเปิดวาล์วให้น้ำมนต์ไหลออกมา หลังจากช่วงเวลาหนึ่ง เหรียญจะเลื่อนออกจากถาด จากนั้นตุ้มน้ำหนักจะดันคันโยกขึ้นไปยังตำแหน่งเดิม ปิดวาล์วและปิดการไหลของน้ำ
สำหรับชาวบ้านในยุคนั้นที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เครื่องจ่ายน้ำมนต์นี้คือปาฏิหาริย์ที่ช่วยตอกย้ำพลังวิเศษของวิหารและเทพเจ้า แต่ความจริงที่พิสูจน์ได้คือมันช่วยประหยัดเวลา ทำให้ผู้ศรัทธาได้รับน้ำมนต์โดยทั่วกัน อีกทั้งยังประหยัดเวลาผู้ดูแลและช่วยเพิ่มเงินบริจาคให้กับโบสถ์อีกด้วย
ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติแบบหยอดเหรียญที่ทันสมัยเครื่องแรกเปิดตัวในลอนดอน ประเทศอังกฤษในช่วงต้นทศวรรษ 1880 โดยจำหน่ายไปรษณียบัตร เครื่องนี้ถูกคิดค้นโดย Percival Everitt ในปี 1883 และในไม่ช้าก็กลายเป็นสิ่งที่แพร่หลายในสถานีรถไฟและที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศอังกฤษ ทำหน้าที่จำหน่ายซองจดหมาย โปสการ์ด และกระดาษโน้ต ในสหรัฐอเมริกานั้น ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเครื่องแรกถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1888 โดยบริษัท Thomas Adams Gum เป็นตู้จำหน่ายหมากฝรั่งบนชานชาลารถไฟในนครนิวยอร์ก
ต่อมาในปี ค.ศ. 1893 บริษัท Stollwerk ผู้ผลิตช็อกโกแลตสัญชาติเยอรมันได้ขายช็อกโกแลตด้วยเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติจำนวน 15,000 เครื่อง ต่อมาไม่เพียงแค่ช็อกโกแลต แต่ได้เริ่มขายบุหรี่ ไม้ขีด หมากฝรั่ง และสบู่อีกด้วย
ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติแบบหยอดเหรียญในญี่ปุ่น
ตู้หยอดเหรียญเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น มีมากกว่า 5.6 ล้านเครื่องทั่วประเทศ ถือเป็นอัตราส่วนสูงสุดในโลก โดยเฉลี่ยที่หนึ่งเครื่องต่อ 23 คน เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติในญี่ปุ่นได้รับการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี ค.ศ. 1888 เป็นตู้จำหน่ายแสตมป์และไปรษณียบัตรซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1900 ในขณะที่ตู้จำหน่ายสาเก และขนมเริ่มมีแพร่หลายในปี ค.ศ. 1920 ตามด้วยเครื่องจำหน่ายน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายทศวรรษ 1950 ถึงปี 1960
นอกจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีขั้นสูง ที่นี่ยังมีสินค้ามากมายจำหน่ายผ่านตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติตั้งแต่ อาหาร เครื่องดื่ม สมาร์ทโฟน ซิมการ์ด และกางเกงใน
มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสะดวก ต้นทุนต่ำ ความมั่นคงด้านความปลอดภัยและการรองรับสินค้าที่หลากหลาย
คล้ายกับการพัฒนาของโทรศัพท์มือถือมาจนถึงสมาร์ทโฟน เครื่องขายสินค้าอัตโนมัติก็มีความก้าวหน้าเช่นกัน แม้ว่าจะช้ากว่ากันมากแต่ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติอัจฉริยะ แบบจอสัมผัสดิจิตอล มีการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต มีการติดตั้งกล้องและเซ็นเซอร์ประเภทต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มพลังการประมวลผลที่คุ้มค่ากว่า และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ทำให้การลงทุนในธุรกิจนี้เริ่มคึกคักอีกครั้ง จากการพัฒนาเทคโนโลยี Cashless ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต บาร์โค้ด จ่ายผ่าน E-Wallet หรือจ่ายผ่านคิวอาร์เพย์เมนต์แบบ Omni-channel ที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสตู้อีกต่อไป พร้อมกับการพัฒนาระบบใช้เท้าเหยียบแทนการใช้นิ้วกดแป้นสินค้า
และไม่นานมานี้ได้มีการใช้เทคโนโลยีการระบุตัวตนที่หลากหลายด้วยระบบจดจำใบหน้า AI และ Machine Learning เช่น NFC, RFID ที่มอบประสบการณ์ที่ดีกว่าแก่ผู้ใช้ ทั้งในด้านของความรวดเร็ว สะดวกสบายในการชำระเงินและการแนะนำสินค้าที่ซื้อบ่อยหรือซื้อก่อนหน้า อีกทั้งยังช่วงลดต้นทุนการดำเนินงาน ในขณะที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของการขายอัตโนมัติผ่านการจัดการระยะไกลและการวิเคราะห์แบ็กเอนด์อัจฉริยะ รวมถึงการโฆษณาที่จะแสดงผลเชื่อมโยงจากประวัติการซื้อของลูกค้าแต่ละคน ซึ่งมีส่วนช่วยอย่างมากในเรื่องของการขาย นอกจากนี้ยังช่วยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้นผ่านการเชื่อมต่อมัลติมีเดียแบบโต้ตอบและโซเชียลมีเดีย ล่าสุดบริษัท Coca Cola ได้ผลิต Cola Bot หุ่นยนต์จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ
การลงทุนในเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติต้องอาศัยปัจจัยหลักคือการเลือกทำเลที่มีศักยภาพ อยู่ในแหล่งชุมชนและนำเสนอสินค้าที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชน ทั้งนี้ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ควรพิจารณา อาทิเช่น
- ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและค่าขนส่ง
- ขนาดความกว้าง ยาว สูง และลึกของตู้ ตู้ไม่ควรใหญ่เกินไปเพราะจะลำบากในการหาที่วางและการขนย้าย ตู้ที่ดีควรมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับความจุ
- ความจุของตู้ ขั้นต่ำควรจุหรือเสิร์ฟได้ 400 ชิ้นขึ้นไป
- ระบบทำความเย็น ควรทำความเย็นได้ 2-5 องศาเซลเซียล เพราะเหมาะสมกับสภาพอากาศในบ้านเรา
- ต้องใช้ไฟเท่าไหร่ต่อเดือน เมื่อคำนวณรวมกับค่าเช่าพื้นที่ต่อเดือน จะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ต่อเดือนที่เราต้องจ่ายออก
- สามารถรับเหรียญและธนบัตรได้ทุกแบบหรือไม่ และมีระบบทอนเงินหรือไม่
- รองรับการจ่ายเงินที่หลายหลายได้หรือเปล่า เช่น การชำระผ่าน QR code หรือ Barcode ได้หรือไม่
- มีบริการหลังการขายหรือไม่ เช่นค่าซ่อม ค่าอะไหล่และค่าเดินทางของช่าง เป็นต้น
หากคุณสนใจในธุรกิจเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ เราขอเชิญคุณเข้าร่วมกิจกรรม “Vending Machine Online Business Matching โอกาสดีให้ผู้ประกอบการกลุ่มโรงงาน, ร้านอาหาร, โรงแรม, รีเทล และนักลงทุนที่มีแผนที่จะติดตั้งเครื่อง Vending Machine ได้พบปะ พูดคุยและซักถามผู้ผลิตเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ
ผลประโยชน์ที่คุณจะได้รับ:
📍 ได้พบผู้ผลิตตัวจริง
📍 ได้รู้ต้นทุนการผลิตโดยตรง โดยไม่ผ่านคนกลาง
📍 ได้รับรู้ถึงเทคโนโลยีและโซลูชั่นใหม่ๆของ Vending Machine
📍 โอกาสเพิ่มช่องทางในการหารายได้
📍 พร้อมรับเงื่อนไขสุดพิเศษ
สมัครได้แล้ววันนี้เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง:
Post Recent
ปี 2566 ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ มีโอกาสโตกว่าที่คาดการณ์ไว้
ปี 2566 ธุรกิจบริการอาหาร
ธุรกิจฟู๊ดเดลิเวอรี่ในอาเซียนมูลค่ารวมเพิ่มขึ้น 37.5%
Momentum Works บริษัทร่วม